สองสามวันที่ผ่านมา เอมหวานไปโฉบบล็อกเพื่อนๆ
เลยเห็นว่าอัพบล้อกเรื่องบัวกันอยู่
การันตีว่าบล็อกรูปบัวสวยหมดทุกบล้อกเลยค่ะ
พอดี๊ พอดี....ไม่มีโครงการแต่บังเอิญที่นี่มีโครงการค่ะ
เห็นป้ายโฆษณา "มหกรรมบัว" โดยม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร
แถวบ้าน เห็นมาเกือบเดือนแล้ว...เลยคิดว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
เพราะนานๆ ถิ่นห่างไกลกทม. จะมีกิจกรรมระดับนานาชาติกะเค้าบ้าง
ว่าก็ว่าเถอะ...จังหวัดสกลนครไม่มีรถไฟถึง แต่มีสนามบินและมีเครือ่งบินนะคะ อิอิ
น่าภูมิใจดีไหมเนี่ย(ใจเราอยากให้ขนส่งมวลชนประเทศไทยสะดวกสบายกว่านี้)
มันดูกระจุกตัวและไม่ปลอดภัย ยิ่งจังหวัดที่มีรถไฟผ่าน
จะกี่ปีๆก็เห็นแต่จะมีอุบัติเหตุสังเวยรางรถไฟไปไม่รู้เท่าไหร่
แฮ่มๆ ก่อนจะกลายเป็นเรื่องรถไฟ
กลับมาสู่เรื่องบัว
ภาพชนะเลิศภาพถ่ายจากการประกวด หัวข้อ “บัวในรั้วราชมงคลธัญบุรี”
โครงการ ชมดอกบัวบ้าน ทานอาหารจากบัว โดยคุณกิตติพงษ์ แสนสุด
เป็นดอกไม้คู่พระพุทธศาสนา แต่เรากลับมีความรู้น้อยมาก
กระนั้นเลย ไปดูบทความจากเดลินิวส์กันดีกว่าจ้าา
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<<<<<<<
บัวพันธุ์ไม้น้ำที่ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ผุดผ่องและคุณงามความดีในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัว เป็น 4 เหล่า คือ บัวในโคลนตม บัวใต้น้ำ บัวปริ่มน้ำ และบัวเหนือน้ำ บัวเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ดูสง่างาม ดอกมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม เด่นสะดุดตาสะดุดใจแก่ผู้พบเห็น บางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นชม
(รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1ภาพถ่ายจากการประกวด หัวข้อ “บัวในรั้วราชมงคลธัญบุรี" โดยนิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล)
ด้วยเหตุนี้เองบัวจึงได้รับสมญาว่า “ราชินีแห่งไม้น้ำ”
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร
โดย รศ. ดร.พงษ์ศักดิ์ สุริยวนากุล รองอธิการ บดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยา เขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร รศ.ดร.สุวพงษ์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มองเห็นความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันวิจัยและพัฒนา ตั้งอยู่ ที่ “หนองหารน้อย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งน้ำจืด “หนองหาร” เป็นแหล่งบัวหลากหลายพันธุ์ ร่วมมือกับจังหวัดสกลนคร
กำหนดจัดงาน “มหกรรมบัว” และประชุมวิชาการบัวนานาชาติขึ้นครั้งแรกใน ระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 2553
ณ อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ และหนองหารหลวง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านบัวและพันธุ์ไม้น้ำ ทัศน ศึกษาแหล่งบัวของพื้นที่ และหาแนวทางการพัฒนาพื้นที่หนองหารหลวงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านบัวและ พันธุ์ไม้น้ำที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศ
(รางวัลรองชนะเลิศอันอับ 2ภาพถ่ายจากการประกวด หัวข้อ “บัวในรั้วราชมงคลธัญบุรี" by เฉลิมพงศ์ สิมลา)
ในงาน “มหกรรมบัว” นอกจากจะได้ชมอุทยานบัวเพลินกับความหลากหลายในสายพันธุ์บัวแล้ว
กิจกรรมประกวดภาพถ่าย “บัวในอุทยาน” ชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประกวดจัดสวนบัวในหัวข้อ “สาย ใย สายสัมพันธ์วัฒน ธรรมบัว” ชิงเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร
ประกวดผลิตภัณฑ์จากบัว
นิทรรศการและสาธิตการทำผลิตภัณฑ์จากบัว
กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การแสดงกลางแจ้ง
การฝึกอบรมอาชีพจากผลิตภัณฑ์บัว
และการจำหน่ายอาหารแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากบัว
ที่สำคัญคือการประชุมด้านวิชาการบัวนานาชาติ เรื่อง การวิจัยและพัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจของชาติ ที่ผ่านมามีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลายครั้งในต่างประเทศ และการประชุมบัวและพันธุ์ไม้น้ำเพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจภายในประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการไปแล้วถึง 7 ครั้งนั้น บ่งบอกถึงความสำคัญของพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี ในปี พ.ศ. 2553 นี้ ทางจังหวัดสกลนคร ชมรมคนรักบัวแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เห็นชอบให้มีการจัด ขึ้นเป็นครั้งที่ 8
บัวเป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว
ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ
ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ
บางชนิดมีก้านใบติดอยู่ที่หลังใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ กลีบดอกมีทั้งชนิดซ้อนและไม่ซ้อน มีสีสันแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด
บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 3 สกุล คือ
1.สกุลบัวหลวง (Lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มี ชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือ บัวหลวง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดียและไทย มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้าและไหลซึ่งเมื่อยังอ่อนจะมีลักษณะเรียวยาว เมื่อใบยังอ่อนใบจะลอยปริ่มน้ำ ส่วนใบแก่จะชูพ้นน้ำ ก้านใบและก้านดอกมีหนาม บัวในสกุลนี้เป็นบัวที่รู้จักกันดีเพราะเป็นบัวที่มีดอกใหญ่นิยมนำมาไหว้พระ และใช้ในพิธีทางศาสนา เหง้าหรือที่มักเรียกกันว่ารากบัวและไหลบัวรวมทั้งเมล็ดสามารถนำมาเป็นอาหาร ได้
2.สกุลบัวสาย (Waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า อุบลชาติ หรือ บัวสาย บัวสกุลนี้มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวหรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อและเจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด บางชนิดมีใบใต้น้ำ ใบเป็นใบเดี่ยว มีขอบใบทั้งแบบเรียบและแบบคลื่น
3.สกุลบัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่ประมาณ 6 ฟุต ลอยบนผิวน้ำ ใบอ่อนมีสีแดงคล้ำเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ขอบใบยกขึ้นตั้งตรง มีหนามแหลมตามก้านใบและผิวใบด้านล่าง ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ก้านดอกและกลีบเลี้ยงด้านนอกมีหนามแหลม บานเวลากลางคืนและมีกลิ่นหอม ดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงจำนวน 4 กลีบ ด้านนอกมีสีเขียว ด้านในสีเดียวกับกลีบดอก เมื่อเริ่มบานกลีบดอกจะมีสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูต่อไป
ด้าน อาจารย์สิทธิชัย ฮะทะโชติ ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ให้เป็นผู้จัดการฟาร์มอุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ
มีหน้าที่ดูแลอุทยานบัวมาก่อนที่จะกำหนดจัดงานไม่น้อยกว่า 2 ปี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากจัดพื้นที่เป็นสวนหย่อมอุทยานบัวแล้ว อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้มีพื้นที่ 700 ไร่ เป็นพื้นที่น้ำ 250 ไร่ พื้นดิน 450 ไร่ มหาวิทยาลัยฯใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นที่ศึกษารวมสัตว์น้ำจืด ศึกษาวิจัยสัตว์น้ำ ทำแปลงทดลองนาข้าว ใช้ศึกษาการใช้เครื่องมือจักรกลในการทำนาแบบครบวงจรร่วมกับสยามคูโบต้า ให้นิสิตปฏิบัติแปลงเกษตร กลุ่มเกษตรกรชาวบ้านมาใช้ทำนาผลิตพันธุ์ข้าวจำหน่าย ในส่วนของงานมหกรรมบัวจะอยู่รอบ ๆ สำนักงานสถาบันฯ จัดทำเป็นบ่อบัวแต่ละชนิด มีหลายร้อยสายพันธุ์ ขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เสร็จทันการจัดงาน
ผู้ที่สนใจเข้าชมและเข้าฟังการจัดงาน มหกรรมบัวนานาชาติครั้งนี้ สมัครลงทะเบียนหรือเข้าชมได้ตามวันเวลาที่กำหนดหรือเว็บ ไซต์ของมหาวิทยาลัยฯ จะได้ชมความงาม ความหลากหลาย ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญด้านบัวโดยเฉพาะทั้งจากภายในประเทศและนอกประเทศ และที่สำคัญจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสงานรวมบัวที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้อีกง่าย ๆ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับชาวสกลนครและ ใกล้เคียงมีโอกาสจะมาชมได้เพราะบัวบางส่วนนำลงไปในบ่อให้เป็นสถานที่ท่อง เที่ยว “อุทยานบัวแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”.
สุรพล นนทะศรี
ที่มา เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=97876&categoryID=420
:::::::::::::::::::::::::::::::
มาสกลนครแล้ว แนะนำให้อยู่ต่อเที่ยวอีกสองเทศกาลค่ะ
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ปีละครั้งเท่านั้น และสกลนครที่เดียว
19 ต.ค. 2553 - 23 ต.ค. 2553ค่ะ
ภาพจากhttp://www.skko.moph.go.th/Runner/home.php
นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสกลนครก็จะไปต่อที่เทศกาลไหลเรือไฟ จ.นครพนมค่ะ
16 ต.ค. 2553 - 24 ต.ค. 2553
ภาพและข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ:http://thungmon.siam2web.com/
ขอบคุณกรอบจากคุณกุ้งค่ะ
ชอบกรอบนี้ก็คลิกลิงค์นี้เลย
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kungguenter&month=05-2008&date=20&group=23&gblog=34
| ||
Wednesday, October 5, 2011
เชิญเที่ยวงานมหกรรมบัว นานาชาติ แล้วต่อด้วยแห่ปราสาทผึ้ง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment