Wednesday, October 5, 2011

พาละตินเที่ยวสกล...ตอนความงามจากน้ำมือ(ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม)และกลองเส็ง






อ้างอิงจากบล็อกก่อนค่ะ เชิญชมตามลำดับนะคะ อิอิ

ละตินมาเที่ยวสกลนคร...ตอน ของฝากเป็นหมากเม่า(คลิกที่นี่)


ละตินมาเที่ยวสกล...ตอนความประทับใจในหมู่บ้านวัฒนธรรมผ้าย้อมคราม(คลิกที่นี่)

ก่อนจะไปชมตอนถัดไป ขอหาเสียงสักเล็กน้อยค่ะ อินเทรนๆ ฮี่ๆ
โหวตได้ทุกวันไม่มีวันหยุดนะคะ


 ขอบคุณค่าา


วันเดียวกันหลังจากที่เราไปชมหมู่บ้านพันนาที่น่ารักแล้ว
ตอนบ่ายเราจะไปศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขามค่ะ






ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยวค่ะ
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขามที่เป็นแหล่งผลิตศิลปหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้ การทอผ้าไหม มีห้องแสดงการปั้นเขียนสี แสดงผลิตภัณฑ์ ฝีมือในการผลิต ออกแบบสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่นิยมใช้ของไทย ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ได้นำมาจัดแสดงให้ชม และจำหน่ายในงานนิทรรศการที่เกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกประจำจังหวัด รวมทั้งงานออกร้านในเทศกาลต่าง ๆ ในต่างจังหวัด และในกรุงเทพฯ

เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ทุกวันอังคาร-วันเสาร์

ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม
อยู่ ในท้องที่บ้านกุดนาขาม ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ เดินทางไปตามเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 22 ระยะทาง 84 กิโลเมตร ถึงอำเภอสว่างแดนดิน แยกขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2091 และแยกซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 2280 เป็นเส้นทางสู่อำเภอเจริญศิลป์ ไปอีกประมาณ 23 กิโลเมตร การเดินทางสะดวกมาก
source:http://www.thaitambon.com/Tambon/tcommdesc.asp?sme=0112237221&ID=471602

::::::::::::::::::::::::::::::::::::



ชม presentation แนะนำก่อน โดยพ.ต.กมล ทองสุ หน.ชป. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ
แต่ก่อนที่นี่เคยเป็นเขดพื้นที่สีเหลือง เกือบจะแดงคอมมิวนิสต์แล้วละ
ประชาชนก็ยากจนมาก
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชินีก็เลยทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพขึ้น
กลุ่มSMEs ละตินงงมาก ที่จุดประสงค์ของศูนย์นี้ไม่ได้เพื่อ Maximize Profit
หรือไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร แต่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีิวิตชาวบ้าน
Maximize the quality of the people's life

สิบกว่าปีที่นี่ ศิลป ทำให้เกิดอาชีพค่ะ
เย็บผ้า ทอผ้าไหม แกะสลักไม้




zooom


วาดภาพ ปักผ้า


เราก็ปล่อยไก่ ถามวิทยากรว่า ไม่เห็นมีคนพิการเลยนี่คะ ทุกคนดูปกติดี
พี่เค้ากระซิบบอกว่าพี่ผู้ชายที่วาดรูปเค้าเจออุบัติเหตุ


ดอกไม้ประดิษฐ์ก็สวยมากๆ


ทำกลีบดอกไม้เองเลย



อันนี้น่าจะเป็นกลีบบัว


เสร็จแล้วก็ได้เวลาช้อปปิ้ง(อีกแล้ว) ค่ะ




คืนสุดท้ายเรามีกิจกรรมเลี้ยงส่ง ก็แนะนำตัว ตัวแทนแต่ละประเทศ
ลืมเล่า..ว่ามีจนท.และนศ.แลกเปลี่ยนจากจีนของม.หอการค้า
เจ้าภาพจัดงานด้วยค่ะ


การแสดงของนักเรียน


แล้วก็ศิลปินดีเด่นประจำจังหวัด
เป็นคนตีกลองโบราณแบบภูไท คนสุดท้ายของประเทศแล้วค่ะ
อ.สุขสันต์ สุวรรณเจริญ






เอาความรู้เพิ่มเติมเรื่องการเส็งกลองมาฝากค่ะ
   กลองเส็งในที่นี้คือกลองที่ขุดด้วยไม้ ลักษณะปากกว้างก้นเล็ก ใช้หนังวัวหรือหนังควายแล้วแต่ความนิยมขึงหน้ากลองและก้นกลอง การเร่งให้หนังกลองตึงทำโดยการเร่งหรือคลายเชือกหนังที่ร้อยโยงแผ่นหนัง ส่วนวิธีการแข่งขันนั้นใช้วิธีนำกลองทั้งคู่ขึ้นไม้ขาหยังหันก้นกลองทั้งคู่ เข้าหากัน ใช้ไม้โหมกระหน่ำด้วยแรงข้อและแขน ด้วยเหตุนี้กลองนี้ จึงแตกต่างจากกลองเส็งที่กลองหรือวางกลองโดยการนอนกับพื้นแล้วใช้ฆ้อนหรือ มือตีหน้ากลอง กลองเส็งดังกล่าวเท่าที่พบเห็นในจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียงมี ๓ ขนาดคือ
1.   กลองกิ่ง หรือ บางแห่งเรียกว่ากลองจิ่ง เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ หน้ากลองกว้าง ประมาณ ๕๐ ซม. ก้นกลองกลองกว้างประมาณ ๒๐ ซม. กลองชนิดนี้นอกจากจะใช้ตีแข่ง
ขันแล้ว ยังนิยมวางกลองนอนกับพื้นแล้วตีท่าทางต่างๆ ว่าลายกลอง
2.   กลองแต้บ หรือ กลองแตบ หรือบางแห่งเรียกว่ากลองแต้ เป็นกลองขนาดกลางหน้า ประมาณ ๓๐ ซม. ก้นกลองกว้างประมาณ ๑๐ – ๑๕ ซม.
3.   กลองแตบ หรือ กลองแซ่ เป็นกลองที่มีขนาดเล็กกว่ากลองแต้บ ไม่นิยมนำมาเส็งเท่า กลองแตบ
การเส็งกลอง
คำว่า “เส็ง” แปลว่าการแข่งขัน ก
ารเส็งกลองคือการแข่งขันหรือประกวดตีกลองนั่นเอง กีฬาเส็งกลองในปัจจุบันจัดขึ้นในเทศกาลงานบุญไม่มากนัก หากไม่สนับสนุนฟื้นฟูขึ้นมาแล้ว กีฬากลองเส็งก็อาจหมดไปเช่นเดียวกับกีฬาพื้นบ้านหลายสิบชนิดที่มีเขียนไว้ใน หนังสือเก่า
โดยข้อเท็จจริงการเส็งกลองช่วยสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวบ้านเป็นอย่างดี เพราะต้องมีการฝึกซ้อมและเข้าแข่งคณะหรือทีละหลายคน ในด้านสุขภาพร่างกาย ผู้ตีกลองเส็งต้องมีกำลังแขน ข้อมือและความทรหดอดทนเป็นเลิศจึงสามารถเอาชนะคูต่อสู้ในแต่ละรอบได้ นอกจากนี้การเส็งกลองยังช่วยให้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และมีเพื่อนฝูงต่างหมู่บ้านอีกด้วย

ประเพณี “เส็งกลอง”
เป็นหนึ่งในหลากหลายประเพณีที่ชาวอีสานในบางท้องถิ่นยังคงปฏิบัติ
ยึดมั่นเป็นเกมกีฬาสร้างความบันเทิง และความสามัคคีให้เกิดกับสังคมตัวเอง เช่นเดียวกับประเพณีแข่งเรือ การแข่งขันชักว่าว การแข่งขันวิ่งควาย ฯลฯ
คำว่า “เส็ง” เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหมายว่า ประลอง หรือ แข่งขัน ประเพณี “เส็งกลอง” มักจะนิยมเล่นหลังจากเก็บพืชแล้วในแต่ละปี ส่วนมากจะประมาณตั้งแต่ เดือนสามถึงเดือนหก โดยจัดให้มีการเส็งในงานบุญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบุญเดือนสาม ตรุษสงกรานต์ จนกระทั่งบุญบั้งไปไฟหรือบุญเดือนหก
http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/kongseng.html


เสียดาย เอมหวานเป็นพิธีกร เลยไม่ได้อัดวีดีโอมาให้ดูกัน
รำวงหมู่ปิดท้าย


ถ่ายรูปหมู เอ๊ย หมู่ค่ะ



พรุ่งนี้(10/9/10)พวกกลุ่มนักธุรกิจกลุ่มนี้จะออกเดินทางแต่เช้า
ไปถึงกทม.ก็เย็นๆ เป็นอันจบงานอาสาสมัครของเรา
นานๆจะมีกิจกรรมได้ฝึกภาษาบ้าง ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วย
ยอมรับว่า นี่คือครั้งแรกที่ได้รู้จักเพื่อนชาวละตินอเมริกา ทวีปทีเรายังไม่เคยไป
และไม่รู้จักมากนัก

แต่เท่าที่ทราบจากเพื่อนๆกลุ่มนี้
เค้าสนุกสนาน เป็นกันเองเหมือนคนไทยเลย
สิ่งที่ภูมิใจยิ่งกว่าของการเป็นคนไทย คือ การที่พวกเค้าออกปากชื่นชมวัฒนธรรม
และสิ่งดีๆของเรา คนไทยเองเสียอีกที่ไปภูมิอกภูมิใจกับวัฒนธรรมประเทศอื่น
จนลืมไปว่า เพราะสิ่งดีๆที่เรามีต่างหากที่ทำให้เรายืดอกได้และมีวันนี้

สุดท้ายแล้ว...สิ่งที่ดีที่สุด คือ
การเรียนรู้อนุรักษ์ และพัฒนาวัฒนธรรมของเราให้ยั่งยืน
เพราะขึ้นชื่อว่าวัฒนธรรม ก็ไม่ใช่จะรักษาอย่างเดียว ต้องสามารถดัดแปลก ประยุกต์ได้
เหมือนกับภาษาที่ปรับและเปลี่ยนไปตามยุคสมัยได้เช่นกัน

เอนทรี่นี้มาหนัก เพราะคันปากอยากเล่าเรื่องปราสาทผึ้ง
ที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปเสียเต็มแก่แล้วค่ะ

ขอบคุณกรอบจากคุณกุ้งค่ะ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kungguenter&month=01-2009&date=18&group=23&gblog=103



1 comment:

  1. ภาพวาดที่สวยงามW88 Thai http://www.thetechr.com/black-shark-xiaomi/

    ReplyDelete